ประวัติ

พระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท)

วัดพระธาตุหมื่นหินและธรรมอุทยาน จ.กาฬสินธุ์

หมั่นหา หมั่นทำ หมั่นทาน

ถวายปัจจัย บำรุงพระอาราม วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร

พระราชวัชรธรรมโสภณ (หลวงปู่ศิลา สิริจนฺโท) ถวายปัจจัย บำรุงพระอาราม วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร เป็นจำนวน 200,000 บาท

กำหนดการพิธีพุทธาภิเษกเหรียญรุ่นยอดเศรษฐี

พระราชวัชรธรรมโสภณ (หลวงปู่ศิลา สิริจันโท) เป็นประธานสงฆ์พิธีมหาพุทธาภิเษก “เหรียญรุ่นยอดเศรษฐี” ที่ระลึกมหากฐินประจำปี 2567 วัดพระธาตุหมื่นหิน อ.เขาวง จ.กาฬสินธุ์ วันเสาร์ที่ 3 สิงหาคม 2567 เวลา 13.00 น. พระราชวัชรธรรมโสภณ (หลวงปู่ศิลา สิริจันโท) เป็นประธานสงฆ์พิธีมหาพุทธาภิเษก “เหรียญรุ่นยอดเศรษฐี

สภามหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ถวายปริญญากิตติมศักดิ์แด่ พระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา สิริจนฺโท ป.)

สภามหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ในการประชุม (วาระเวียน) ครั้งที่ ว 3/2567 มีมติอนุมัติให้ปริญญากิตติมศักดิ์ แก่ผู้มีคุณธรรม จริยธรรม และมีผลงานที่เป็นคุณปการต่อส่วนรวม บำเพ็ญประโยชน์แก่สังคมและประเทศชาติ และเป็นผู้ประกอบสัมมาอาชีวะประสบความสำเร็จเป็นอย่างยิ่ง จำนวน 6 ราย ดังนี้ ถวายปริญญา 1) ครุศาสตรด

สิริจันโทวาท

วัดพระธาตุหมื่นหิน

ประวัติความเป็นมาในการจัดสร้างพระธาตุหมื่นหินวชิรโสภณญาณ หลวงปู่ศิลา สิริจันโท ท่านได้ปรารภจะสร้างพระธาตุเจดีย์เพื่อเป็นพุทธบูชา และอาจาริยบูชา สถิตไว้เป็นอนุสรณ์ทางพระพุทธศาสนามาระยะหนึ่ง แต่ยังหาสถานที่จัดสร้างที่เหมาะสมไม่ได้ ครั้งที่หลวงปู่ศิลา ได้รับกิจนิมนต์ไปฉันภัตตาหารบ้านลูกศิษย์ท่านหนึ่ง ท่านได้เล็งเห็นมีสถานที่หนึ่งใน อ.เขาวง จ.กาฬสินธุ์ ท่านได้ถามราคาที่ดิน และตกลงซื้อขายในวันนั้นเสร็จสิ้น และได้ปรารภถึงการสร้างมหาธาตุเจดีย์ ชื่อว่า "พระธาตุเจดีย์หมื่นหินวชิรโสภณญาณ โดยหลวงปู่ท่านได้เล็งเห็นในนิมิตว่า มีหินนับหมื่นนับแสนอยู่ใต้พื้นแผ่นดินนี้ และตั้งชื่อสถานที่แห่งนี้ว่า สวนพุทธธรรมสำราญใจ และได้ปรารภกับคณะศิษย์ที่ติดตามว่าให้สร้างพระธาตุขี้น ณ สถานที่แห่งนี้ โดยให้เป็นเจดีย์ ทางล้านนา คล้ายพระธาตุหริกุญไชย จากนั้น คณะศิษย์ก็ได้รวมกันถวายที่ดินเพิ่ม รวมราว 25 ไร่ และได้ริเริ่มโครงการทันที โดยมีการบอกบุญให้กับคณะศิษย์ในวงกว้าง สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ เจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ที่ปรึกษากรรมการมหาเถรสมาคม ได้ทราบถึงความตั้งมั่นในการสร้างพระธาตุเจดีย์ครั้งนี้ จึงได้ร่วมถวายเสาเข็มต้นที่ 1 เป็นปฐมฤกษ์ และ ได้ถวายเสาหลักค้ำพระธาตุต้นปฐมฤกษ์ ต้นแรก เพื่อเป็นขวัญกำลังใจ และยังได้ถวาย พระบรมสารีริกธาตุมา 9 องค์ เพื่อมาประดิษฐาน (ภายหลังเพิ่มมาเป็น 11 องค์อย่างน่าอัศจรรย์) ด้านสถาปัตยกรรม ออกแบบโดย อ.วิวัช วอทอง สถาปัตยกรรมสยาม กว้าง 29 เมตร สูง 41.3 เมตร เป็นอาคาร 7 ชั้น ใช้ประโยชน์ใช้สอยได้ทุกชั้น โดยชั้นบนสุดจะเป็นบรรไดคตเพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ และ อัฐิธาตุบูรพาจารย์ ชั้นแรก จะเป็นอาคารพิพิธภัณฑ์ เพื่อจัดแสดงประวัติและเครื่องบริขารของหลวงปู่ศิลา สิริจันโท และเป็นสถานที่ในการปฏิบัติธรรมและประกอบศาสนกิจของสงฆ์ ได้ทำการวางศิลาฤกษ์ ตอกเสาเข็ม 69 ต้น จากการบริจาคของผู้มีจิตศรัทธา งบประมาณการจัดสร้างราว 50 ล้านบาท โดยมีพระครูภาวนาชยานุสิฐ (สุริยันต์ โฆสปัญโญ) เป็นประธานการจัดสร้าง พระครูสังฆวุฒิกร (ชัย ชุตินธโร) เป็นเลขานุการ หลวงปู่ศิลา สิริจันโท ได้ให้สัมภาษณ์ ตอนหนึ่งถึงการจัดสร้างว่า " การสร้างพระธาตุเจดีย์เพื่อบรรจุอัฐิพระอรหันต์ ให้คนได้กราบไหว้ ให้คนมาปฏิบัติธรรมได้อานิสงค์มาก และในอนาคตกาล ก็อาจจะได้บรรจุของปู่(ท่านชี้มาที่องค์ท่าน) เช่นกัน

ธรรมอุทยาน

ตั้งอยู่ที่ 193 หมู่ที่ 5 ต.เชียงเครือ อ.เมือง จ.กาฬสินธุ์ บนถนนทางหลวงหมายเลข 12 ช่วงกาฬสินธุ์-มุกดาหาร ระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 645-646 อยู่ห่างจากตัวอำเภอเมือง จ.กาฬสินธุ์ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ 17 กม. โดยประมาณ