ประวัติ
ประวัติ
พระราชวัชรธรรมโสภณ หลวงปู่ศิลา สิริจันโท
วัดพระธาตุหมื่นหิน จ.กาฬสินธุ์
พระราชวัชรธรรมโสภณ (ศิลา) ฉายา สิริจันโท นามสกุล นิลจันทร์ อายุ 80 พรรษา 29 เป็นพระสงฆ์ชาวไทยและเป็นพระราชาคณะชั้นราช ปัจจุบันเป็นพระสังฆาธิการ ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดพระธาตุหมื่นหิน ตำบลกุดปลาค้าว อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์
ชีวิตและชาติกำเนิด
นามเดิม ศิลา นามสกุล นิลจันทร์ เรียกนามลำลองว่าบิน เกิดวันที่ 14 ตุลาคม พุทธศักราช 2488 วันอาทิตย์ ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 11 ปีระกา ณ บ้านเบิด อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ บิดาชื่อนายแก่น มารดาชื่อนางน้อย นามสกุล นิลจันทร์ มีพี่น้อง จำนวน 4 คน ประกอบด้วย
1. นายดำ นิลจันทร์ (ถึงแก่กรรมแล้ว)
2. นายอำคา นิลจันทร์ (ถึงแก่กรรมแล้ว)
3. นางสุดา นิลจันทร์ (ถึงแก่กรรมแล้ว)
4. พระครูปลัดวชิรโสภณญาณ (ศิลา สิริจันโท)
ในปีพุทธศักราช 2488 บิดามารดา พาครอบครัวอพยพหนีความแห้งแล้งทุรกันดาร มาอยู่ ณ บ้านส้อง ตำบลธาตุ อำเภอรัตนบุรี จังหวัดสุรินทร์ ต่อมาวนพุทศักราช 2494 ได้ย้ายภูมิลำเนามาอยู่บ้านธาตุประดับ (บ้านยางกระธาตุ) ตำบลหมู่ม้น อำเภอเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ด อันเป็นบ้านเกิดของนางน้อยผู้เป็นมารดา
ลักษณะอุปนิสัย
เด็กชายศิลา นิลจันทร์ มีอุปนิสัยชอบความสันโดษมักน้อยเป็นคนพูดน้อย หากไม่ชักถามจะไม่พูดกับใครและไม่ชอบเล่นกับเด็กในวัยเดียวกัน มีความชื่นชอบในเรื่องราวประวัติศาสตร์นิทานปรัมปรา ความเป็นมาของพระเถราจารย์ โดยเฉพาะเรื่องราวของพระคาถาอาคมต่างๆที่เล่าโดยญาท่านสิงห์ สุภัทโท เจ้าอาวาสวัดธาตุประทับในสมัยนั้น อีกทั้งยังได้รับการถ่ายทอดความรู้ต่างๆจากญาท่านสิงห์ ทั้งการเขียนอ่านอักษรไทย อักษรธรรม อักษรบาย อักษรขอม ทำให้มีความแตกฉาน ชำนาญในอักขระวิธีทางภาษาต่างๆเป็นอย่างดี
การบรรพชาเป็นสามเณร
เมื่ออายุได้ 12 ปีภายหลังจากสำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาแล้ว ได้เข้าบรรพชาเป็นสามเณร (พุทธศักราช 2500) ณ วัดธาตุประทับ เป็นพระอุปัชฌาย์ และเข้าศึกษาพระปริยัติธรรม ณ สำนักเรียนวัดบูรพาพิราม (พระอารามหลวง) ตำบลในเมือง อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด
ในขณะเป็นสามเณร มีโอกาสติดตามคณะออกจาริกไปนมัสการองค์พระธาตุพนม ในช่วงเทศกาลบุญเดือน 3 ด้วยการเดินเท้า ครั้นเมื่อถึงวัดพระธาตุพนม ได้เข้าพักที่วิหารพระนอนด้านทิศใต้ขององค์พระธาตุ กับพระครูธรรมธรอ่อนสี สีลวัณโณ การที่สามเณรศิลา นิลจันทร์ ได้มีโอกาสร่วมเดินทางไปกับคณะ เพื่อนมัสการองค์พระธาตุพนมนั้น ยังทำให้ท่านได้รับฟังคติธรรมคำสอนจากพระธรรมราชานุวัตร
(แก้ว กันโตภาโส) ครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระเทพรัตนโมลี เจ้าอาวาสวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร ตำบลธาตุพนม อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม ความตอนหนึ่งที่พระครูปลัดวชิรโสภณญาณ หรือสามเณรศิลา นิลจันทร์ ในขณะนั้นจำได้อย่างขึ้นใจว่า
“เมื่อฉันอาหารเสร็จแล้วอย่าละทิ้งเศษก้างปลาให้นำมาคั่วแล้วปั่นละลายน้ำคลุกข้าวยังเป็นอาหารให้สุนัข ให้แมว ได้กินต่ออีก”
คำสอนนี้ทำให้ท่านเองเห็นคุณค่าของอาหารที่โยมนำมาถวายและได้ยึดความเมตตาต่อสรรพสัตว์ตลอดมา
ปีแรกแห่งการบรรพชา สามเณรศิลา นิลจันทร์ สามารถสอบพระปริยัติธรรมสนามหลวง ประโยคนักธรรมชั้นตรี และสอบประโยคนักธรรมชั้นโท ได้ในปีพุทธศักราช 2501 และสอบประโยคนักธรรมชั้นเอก ได้ในปีพุทธศักราช 2503 นอกจากนี้ ในปีพุทธศักราช 2504 เริ่มเข้าสอบบาลีสนามหลวง โดยสอบได้เปรียญธรรม 3 ประโยค ในปีพึทธศักราช 2506 ต่อมาเข้าสอบบาลีสนามหลวง 4 ประโยค ในปีพุทธศักราช 2507 จึงได้เป็น “ มหา “ ตั้งแต่เป็นสามเณร
การอุปสมบท
ครั้นในปีพุทธศักราช 2509 เมื่ออายุย่างเข้า 21 ปี จากเข้ารับการเกณฑ์ทหารแล้ว สามเณรศิลา นิลจันทร์ เข้ารับการอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ พัทธสีมาวัดบูรพาพิราม (พระอารามหลวง) ตำบลในเมือง อำเภอเมืองร้อยเอ็ด อำเภอร้อยเอ็ด โดนมีพระราชปรีชาญาณมุนี (พุทธา สิริวุฑโฒ) ครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระสิริวุฒิเมธี เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า “สิริจันโท”
รับภาระสนองงานพระศาสนา
ในปีพุทธศักราช 2510 นับพรรษา 1 มหาศิลา สิริจันโท สอบไล่ได้เปรียญธรรม 5 ประโยค พร้อมกันนี้ ยังได้รับการแต่งตั้งจากเจ้าคณะจังหวัดร้อยเอ็ด ให้เป็นครูสอนปริยัติธรรมประจำสำนักศาสนศึกษาวัดบูรพาถ้รามโดนรับภาระสนองงานจัดการเรียนการสอนด้านศาสนศึกษาเป็นที่เรียบร้อยต่อมาในปีพุทธศักราช 2515 สอบไล่ได้เปรียญธรรม 6 ประโยค
นอกจากนี้พระมหาศิลา สิริจันโท ยังมีความสามารถพิเศษ คือจดจำภิกฺขุปาติโมกฺขปาลิ ได้อย่างแม่นยำดำรงตำแหน่งเป็น ภิกขุปาติโมกขุทเทสก์ (ผู้สวดปาติโมกข์) ประจำวัดบูรพาภิราม(พระอารามหลวง) อีกด้วย
ในปีพุทธศักราช 2516 ทางคณะสงฆ์มอบหมายให้พระมหาศิลา สิริจันโท ออกไปจัดการเรียนการสอนพระปริยัติธรรม ณ สำนึกเรียนวัดนิคมคณาราม ตำบลแวง อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด นอกจากนี้ยังให้ท่านทำหน้าที่บริหารงานการคณะสงฆ์อำเภอหนองพอก จังหวัด้อยเอ็ดด้วย
แต่เนื่องจากท่านไม่พร้อมที่จะรับภาระงาน ด้านการบริหารจึงขอปลีกวิเวกออกไปจำพรรษายังวัดบ้านหนองดู่ทตำบลธานี อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งอยู่ใกล้กับวัดสันติวิหารที่จำพรรษาของพระครูธวัชสันติคุณ ( สมาน ธัมมรักขิโต ) เพื่อนสหธรรมิก ถึงกระนั้นพระมหาศิลา สิริจันโท ยังคงรับหน้าที่ เป็นครูสอนพระปริยัติธรรม ณ สำนักเรียรวัดหนองดู่ในระยะหนึ่ง
แสวงหาสรรพวิชา
ด้วยความที่พระมหาศิลา สิริจันโท มีความสนใจในสรรพวิชาโดยเฉพาะพระคาถาอาคม มาตั้งแต่เมื่อครั้งเป็นสามเณรในปีพุทธศักราช 2509 นั้น ท่านได้นึกถึงคำของหลวงปู่สิงห์ สุภัทโท ที่ได้กล่าวถึง คัมภีร์สรรพวิชาพระคาถาอาคม ของญาท่านประทุม ฐานวโร ผู้ก่อตั้งวัดธาตุประทับ ที่ได้ร่ำเรียนและคัดลอกมาจากสำเร็จลุย ผู้ทรงอภิญญา แห่งนครจำปาศักดิ์ ท่านทราบว่าต้นฉบับตกอยู่กับนายทองสุข ยานู จึงเดินทางไปขอคัดลอกและได้ทำการร่ำเรียนด้วยตนเองและขอรับคำชี้แนะจากหลวงปู่ทองมา ถาวโร อยู่เสมอ
ออกแสวงหาความสงบ
ภายหลังจากท่านวางภาระการทำหน้าที่เป็นครูผู้สอนพระปริยัติธรรมแล้ว ได้ออกปลีกวิเวกครองสมณเพศด้วยความเรียบง่าย ณ วัดบ้านหนองดู่ ตำบลธานี อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด โดยขุดโพรงลงไปให้ใต้ดิน เข้าพักอาศัย บำเพ็ญสมณธรรมภายในโพรงเป็นระยะเวลา 1 พรรษา
ประมาณปีพุทธศักราช 2517 ท่านออกจาริกธุดงค์ไปพร้อมกับหลวงปู่สุเทพ วัดบ้านชาติ ตำบลนานวล อำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด เลาะเลียบขึ้นไปตามฝั่งลำน้ำโขง เขตอำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย ซึ่งในขณะนั้นเป็นพื้นที่เคลื่อนไหวของผู้นิยมลัทธิคอมมิวนิสต์ด้วย หากแต่หลวงปู่ไม่ได้มีความเกรงกลัวแต่อย่างใด อย่างไรก็ตามการจาริกธุดงค์ของพระภิกษุในเขตพื้นที่เช่นนั้น ได้รับการจับตาจากเจ้าหน้าที่รัฐผู้รับผิดชอบพื้นที่ ว่าด้วยเรื่องของความปลอดภัยหากเกิดการปะทะ โดยท่านและสหธรรมมิกร่วมเดินทางได้รับคำแนะนำจาก พันตำรวจโทไพบูลย์ คงคูณให้ไปพำนักที่ถ้ำแห่งหนึ่งบนภูเขา ครั้นเมื่อเหตุการณ์ปกติแล้วจึงจาริกต่อไปจนถึงเขตอำเภอปากชม จังหวัดเลย
ด้วยสภาพความเป็นอยู่ของผู้คน ที่ค่อนข้างอัตคัด และความแห้งแล้ว ทุรกันดาร อาหารไม่พอฉัน ไม่พอประทังสังขารและไม่เอื้อต่อการบำเพ็ญสมณธรรมอยู่ได้ จึงตัดสินใจกลับลงมาและไปบำเพ็ญสมณธรรมที่ถ้ำสุมณฑา บ้านพรานเหมือนตำบลบ้านขาว อำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี ณ สถานที่แห่งนี้ ท่านได้นิมิตเห็นกายทิพย์ 2 ตน ชื่อว่า นางดอกไม้และนางอนงค์ มาขอเส้นเกศาของท่านไปบูชา โดยส่งกลิ่นหอมอบอวลทั่วทั้งภูเขา ท่านได้จำพรรษาอยู่ที่ถ้ำสุมณฑาแห่งนี้เป็นระยะเวลา 2 พรรษา ครั้นแล้วจึงเดินทางกลับมาจำพรรษาที่วัดธาตุประทับ บ้านธาตุประดับ ตำบลหมู่ม้น อำเภอเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ด ดังเดิม
ลาสิกขาด้วยความจำเป็น
มื่อท่านย้ายมาจำพรรษาที่วัดธาตุประดับ ตำบลหมู่ม้น อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด นางน้อย ผู้เป็นมารดาล้มป่วยญาติพี่น้องได้ขอให้ท่านลาสิกขามาดูแลครอบครัว โดยท่านได้ตัดสินใจในการลาสิกขา เป็นครูผู้ช่วยสอนที่โรงเรียนบ้านธาตุประทับ ขณะที่ทำหน้าที่ในการเป็นครูผู้ช่วยสอนนั้น ได้เกิดความเมตตาสงสารนักเรียนที่ต้องถูกตีด้วยไม้เรียว จึงเกิดความนึกคิดเสมอที่จะหวนคืนสู่เพผสบรรพชิต
กลับเข้าอุปสมบทเป็นครั้งที่ 2
เมื่ออายุได้ 34 ปี ภายหลังจากนางน้อย ผู้เป็นมารดาเสียชีวิตลง ท่านเองได้กลับเข้าอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดมาลุวาคณาราม ตำบลพลับพลา อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2522 โดยมีพระสมุห์เป ปุญโซ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระน้อย สีลวัณโณ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระปลัดสมาน ธัมมรักขิโต (พระครูณวัชสันติคุณ) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “สุริยจิตโต”
ระหว่างปีพุทธศักราช 2522 – 2539 จำพรรษาที่วัดโนนเดื่อ บ้านโนนเดื่อ อำเภอธวัชบุรี และวัดธาตุประดับ บ้านธาตุประทับ อำเภอเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ด
ลาสิกขาด้วยความจำเป็นครั้งที่ 2 ในระยะเวลาอันสั้น
พุทธศักราช 2439 นางสุดา ผู้เป็นพี่สาวล้มป่วย ขาดผู้ให้ความช่วยเหลือ ด้วยความอัตคัดยากจน ในครอบครัวที่ไม่สมบูรณ์ อีกทั้งผู้เป็นที่สาวได้ทำนาค้างไว้ การจะมาดูแลคณะยังครองสมณเพศก็หาเหมาะไม่ท่านจึงลาสิกขาบทเป็นครั้งที่ 2 ออกมา ทำหน้าที่ดูแลตอบแทนคุณพี่สาว เป็นเวลา 8 เดือน
กลับเข้าอุปสมบทเป็นครั้งที่ 3
ภายหลังจากฤดูของการเก็บเกี่ยวข้าว ในภาษาอีสานเรียกว่า “ข้าวขึ้นเล้า” แล้วเสร็จ นางสุดา ผู้เป็นพี่สาวไก้ถึงแก่กรรม เมื่อเสร็จสิ้นการจัดการงานศพเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ท่านได้อุปสมบท ครั้งที่สาม ณ พัทธสีมาวัดแสงประทีป ตำบลหมู่ม้า อำเภอเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ด ในวันที่ 22 ธันวาคม พุทธศักราช 2539 โดยมี พระครูวิธานสมณกิจ (อำนวย จันทสาโร) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการจันทร์ โฆสปัญโญ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระเสด็จ ผาสุโก เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “สิริจันโท”
พุทธศักราช 2539 พรรษาแรก จำพรรษาที่วัดธาตุประทับ บ้านธาตุประทับ อำเภอเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ด สลับกับการออกจาริกธุดงค์ ไปจำพรรษาที่พรานเหมือน ตำบลบ้านขาว อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี
ด้วยวัตรปฏิบัติที่เรียบง่ายของท่าน ทำให้ผู้คนที่พบเห็น บังเกิดความศรัทธาเลื่อมใส เข้าถวายตัวเป็นศิษยานุศิษย์และได้รับการอาราธนาให้อยู่จำพรรษาในเสนาสนะ ที่ต่างๆ เพื่อเป็นที่พึงทางใจอยู่เสมือ
พุทธศักราช 2559 ออกจากริกไปบ้านหนองแซง ตำบลแจ้ง อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ ต่อมาได้รับนิมนต์โดยพ่อใหญ่ก้องให้จำพรรษา ณ ป่าช้าม่วงนาตำบลม่วง อำเภอดอนจาน จังหวัดกาฬสินธุ์
พุทธศักราช 2562 – ปัจจุบัน รับนิมนต์จาก พระครูสุขาน โพธิคุณ (ถนอม) วัดโพธิ์ศรีสะอาด ให้สร้างเสนาสนะสงฆ์ (สวนสงฆ์ แกเปะ)
ภายในธรณีสงฆ์ ของวัดโพธิ์ศรีสะอาด บ้านแกเปะ ตำบลเชียงเครือ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์เพื่อก่อให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองแก่บวรพุทธศาสนา และเป็นพื้นที่ทางใจให้แก่เหล่าบรรดาศิษยานุศิษย์
สมณศักดิ์
ในปีพุทธศักราช 2564 พระมหาศิลา สิริจันโท ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น พระครูฐานานุกรม ในพระพรหมวชิรโสภณที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 10 เจ้าอาวาสวัดบึงพระลานชัย (พระอารามหลวง) ตำบลในเมือง อำเภอเมืองร้อยเอ็ดจังหวัดร้อยเอ็ด ที่ “พระครูปลัดวชิรโสภาณ วิมลศีลาจารวิษฏ์ ไพศาลศาสนกิจจาทร”
ผลงานสำคัญ
พระครูปลัดวชิรโสภณญาณ เป็นพระเถราห์จารย์ผู้ที่มีจิตใจโอบเออารีย์ต่อผู้ตกทุกข์ได้ยากสม่ำเสมือ และเป็นกำลังสำคัญในจัดสร้างถาวรวัตถุต่างๆ รวมไปถึงการส่งเสริมสนับสนุนทางด้านสาธารณูปโภค และสาธารนูปการให้แก่องค์กรการกุศลต่างๆ ดังนี้
พุทธศักราช 2517
– ดำเนินการจัดสร้างรูปเหมือนพระมหากัจจายน์ใหญ่และบูรณะเสนาสนะสงฆ์ ในท้องที่อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด
พุทธศักราช 2556
– ดำเนินการจัดสร้างและสนับสนุนการจัดสร้างเสนาสนะสงฆ์ในท้องที่จังหวัดมหาสารคาม
พุทธศักราช 2561
– ดำเนินการจัดสร้างเสนาสนะสงฆ์ในธรณีสงฆ์วัดโพธิ์ศรีสะอาด (สวนสงฆ์แกเปะ) บ้านแกเปะ ตำบลเชียงเครือ อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์
พุทธศักราช 2562
– ดำเนินการจัดหาทุนสมทบการก่อสร้างอุโบสถวัดโพนโป่ง ตำบลเวียงคุก อำเภอหนองคาย จังหวัดหนองคาย ที่ยังคงสร้างไว้แล้วให้เสร็จ
– ดำเนินงานบูรณะหลังคาอุโบสถ วัดป่าศรีโพนทอง ตำบลแวง อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด เมื่อวันที่ 18 เมษายน 2564 จำนวนเงิน 150,000 บาท
พุทธศักราช 2563
– ดำเนินงานสร้างสะพานเข้าหอเจ้าเฮือน 3 พระองค์ วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร ตำบลธาตุพนม อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม
– มอบรถกู้ชีพ กู้ภัยแก่มูลนิธิคุณวีโรกุศลสงเคราะห์ จังหวัดมหาสารคาม เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2563
พุทธศักราช 2564
– มอบเครื่องตัดถ่างหน่วยกู็ชีพ กู้ภัยเจ้าปู่บัวขาว อำเภอกุฉินารายน์ จังหวัดกาฬสินธุ์ เมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2564 เป็นจำนวนเงิน 150,000 บาท
– สบทบทุนสร้างสะพานเข้าหอเจ้าเฮือน 3 พระองค์ วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร ตำบลธาตุพนม อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม เมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2564 เป็นจำนวนเงิน 1,000,000 บาท
– เป็นประธานดำเนินงานสร้างห้องผู้ป่วยพิเศษโรงพยาบาลสุทธาเวช มหาวิทยาลัยสารคาม จังหวัดมหาสารคาม เป็นจำนวนเงิน 400,000 บาท
รูป
สมทบก่อสร้างหอเจ้าเฮือน 3 พระองค์
วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร ตำบลธาตุพนม อำเภอธาตุพนม จังหวัดพนม
รูป
สมทบทุนจัดซื้ออุปกรณ์ครุภัณฑ์ทางการแพทย์ให้กับโรงพยาบาลสุทธาเวช คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
– ดำเนินงานสร้างโรงเรียนผู้สูงอายุ บ้านแกเปะ ตำบลเชียงเครือ อำเภอเมือง กาฬสินทธุ์ เมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2564 เป็นจำนวนเงิน 1,000,000 บาท
– สบทบทุนสร้างสะพานเข้าหอเจ้าเฮือน 3 พระองค์ วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร ตำบลธาตุพนม อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม เมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2564 เป็นจำนวนเงิน 1,020,000 บาท
– มอบเครื่องตัดถ่างช่วยเหลือชีวิตคนให้ทันการรักษาจากอุบัติเหตุหนักแก่กู้ภัยตุณวีโร อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ และกู้ภัยสว่างนา อำเภอธาตุพนม เมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2564 เป็นจำนวนเงิน 300,000 บาท
– ดำเนินงานสร้างห้องอภิบาลสงฆ์อาพาธ โรงพยาบาลสุทธาเวช มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม เมื่อวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2564 เป็นจำนวนเงิน 1,000,000 บาท
– มอบเงินสมทบทุนช่วยเหลือการกุศล แก่กู้ภัยเจ้าปู่บัวขาว อำเภอกุฉินารายน์ จังหวัดกาฬสินธุ์ เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม – 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 เป็นจำวนวเงิน 160,000 บาท
– สมทบทุนกองทุนอภิบาลสงฆ์อาพาธ ถวายพระเทพวรมุณีวัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร ตำบลธาตุพนม อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 เป็นจำนวนเงิน 500,000 บาท
– มอบเครื่องวัดสัญญาณชีพผู้ป่วย ให้แก่โรงพยาบาลสุทธาเวช คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ.2564 เป็นจำนวนเงิน 4000,0000 บาท
รูป
มอบเครื่องถ่าง อุปกรณีกู้ชีพ – กู้ภัย
ศูนย์กู็ชีพกู็ภัยคุณวีโรกุศลสงเคราห์ สาขากาฬสินธุ์
รูป
ร่วมกับคณะสมทบทึน จัดซื้ออุปกรณ์ครุภัณฑ์ทางการแพทย์ให้กับโรงพยาบาลสุทธาเวช คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยสารคาม
– มอบทุนการศึกษา วิทยาลัยท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมบริการ มหาวิทยาลัยนครพนม อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม เป็นจำนวนเงิน 100,000 บาท
– มอบทุนการศึกษา แก่นักศึกษาคณะครุศษสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม อำเภอเมืองนครพนม เป็ฯจำนวนเงิน 100,000 บาท
– สมทบทุนขยายเสาไฟฟ้าเข้าศูนย์ปฏิบัติธรรมศรีประภาพุฒาธรรม (ธ) จังหวัดขอนแก่น เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2564 เป็นจำนวนเงิน 100,000 บาท
– มอบเงินสมทบทุนสร้างเจดีย์บูรพาจารย์ วัดสันติวิหาร ตำบลธงธานี อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 114,000 บาท
– มอบเงินซื้ออุปกรณ์การแพทย์ โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2564 เป็นจำนวนเงิน 1,000,000 บาท
– มอบเครื่องตัดถ่างหน่วยกู้ชีพ กู้ภัยหมื่นหิน อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2564 เป็นจำนวน เงิน 150,000 บาท
– มอบทุนจัดซื้อเครื่องช่วยหายใจโรงพยาบาล้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด
รูป
นำคณะศิษยานุศิษย์มอบทุนจัดซื้อเครื่องช่วยหายใจ โรงพยาบาลร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด
– จัดตั้งกองทุนเจ้าเฮือน 3 พระองค์ วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร ตำบลธาตุพนม อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม เป็นจำนวนเงิน 1,000,000 บาท
– ดำเนินงานสร้างโรงเรียนผู้สูงอายุ อำเภอธวัชบุรีจังหวัดร้อยเอ็ด
– มอบเงินสร้างศาลาปฏิบัติธรรมดาวิทยาลัยสงฆ์ร้อยเอ็ด มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็ฯจำนวนเงิน 600,000 บาท
– จัดตั้งหน่วยกู้ชีพกู้ภัยหมื่นหิน อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์
– เป็นประธานดำเนินงานจัดสร้างเจดีย์หมื่นหินวชิรโสภณญาณ อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์
– มอบรถกู้ภัยกู้ชีพกู้ภัยหมื่นหิน อำเภอเขาวง จังหวัดกาฬสินธุ์ เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2564
รูป
สมทบทุนจัดสร้างหอบูรพาจารย์ วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม
รูป
มอบทองคำหุ้มสุวรรณฉัตร 3 ชั้น เหนือองค์พระธาตุเชิงมุม วัดพระธาตุเชิงมุมวรวิหาร อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร
– มอบเงินสร้างหอประดิษฐานหลวงพ่อใส ณ มหาวิทยาลัย ขอนแก่น วิทยาลัยหนองคาย จังหวัดหนองคาย เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2564 เป็นจำนวนเงิน 1,811,400 บาท
– จัดสร้างหอบูรพาจารย์วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2564 และวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2564 เป็นจำนวนเงิน 5,000,000
– นำคณะศิษยานุศิษย์มอบทองคำหุ้มสุวรรณฉัตร 7 ชั้น องค์พระธาตุเชิงมุม วัดพระธาตุเชิงมุม วัดพระธาตุเชิงมุมวรมหาวิหาร ตำบลธาตุเชิงมุม อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร เมื่อวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2564 น้ำหนักทองคำจำนวน 20 บาท
– จัดสร้างหอไหว้หลวงพ่อพระใส วัดโพธิ์ชัย (พระอารามหลวง) ตำบลในเมือง อำเภอหนองคาย จังหวัดหนองคาย เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2564 เป็นจำนวน 1,000,000 บาท